วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

๓๘.หัวหลุดแฟมิลี่ โก๊ะตี๋-จตุรงค์...ใครพิการ ใครง่อย?


เคยสังเกตไหมว่า...สังคมไทยมักจะเรียกชื่อผู้คนที่รู้จัก ตามลักษณะเฉพาะหรือความแตกต่าง ที่เห็น จนเป็นเรื่องปกติ

โดยเฉพาะตอนเด็กๆ หลายคน คงเคยได้ยินเพื่อนล้อเลียนกัน ถูกเพื่อนล้อหรือหนักหน่อย ก็เป็นคนล้อเพื่อนซะเอง โดยนำลักษณะเฉพาะต่างๆ ของเพื่อนมาล้อเพียงเพื่อความสนุกสนานกันมาบ้าง

เตี้ย อ้วน แห้ง เป๋ เหล่ ตี่ ดำ หงอก แขนคอก ฯลฯ(ส่วนใหญ่แล้ว ทุกคำจะมีคำว่า"ไอ้"อยู่ข้างหน้า)

ในเมืองไทยเรามีตลกหลายคณะ ที่เอาคนพิการ หรือ ความพิการมาใช้เล่นเพื่อความสนุกสนาน เคยได้ยิน เขาเรียกตลกประเภทนี้ว่า "ตลกสังขาร"

ไม่รู้ว่า...คนอื่นจะมีความรู้สึกเหมือนผมไหมว่า การที่นำคำเหล่านั้นมาใช้ล้อเลียนผู้อื่น สังคมทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นแค่ความสนุกสนาน แต่ในเชิงจิตวิทยาแล้ว เป็นการทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกเหนือกว่าผู้อื่น(อาจจะคล้ายกับนินทาแต่นี่แย่กว่า เพราะว่ากันตรงๆ)


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้ไปดูหนังเรื่อง "ปืนใหญจอมสลัด"ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งมา ระหว่างที่รอตรงประตูทางเข้าเห็นโฆษณาหนัง "หัวหลุดแฟมิลี่" อยู่รวมกับหนังเรื่องอื่นๆ

ตอนแรกที่เห็น ก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับหนังเรื่องนี้คิดว่าเป็นหนังตลกแบบที่เห็นโปรโมททางทีวี บ่อยๆ มีตลกหน้าเดิมๆ เช่นจตุรงค์ ม๊กจ๊ก, โก๊ะตี๋ อารามบอย, ค่อม ชวนชื่น เป็นดาราประจำ

แต่พอเข้าไปเห็นหนังตัวอย่างเรื่องนี้แล้ว รู้สึกสะกิดใจ ที่เห็นหลายๆฉาก ของหนังตัวอย่าง ที่มี อ้น ศรีพรร
รับบทเป็น เวียงพิงก์ เป็นคนนั่งรถเข็น มือไม้หงิกงอ ตาเหลือก ปากเบี้ยว ลักษณะเหมือนเป็นคนพิการ ประเภทหนึ่ง


เหมือนที่เคยเห็นมา หนังเรื่องนี้นำเอา "คนพิการ" มาเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่จริง
รื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแรกที่นำคนพิการมาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง (ก่อนนี้มี เหยิน เป๋ เหล่, บุปผาราตรี๒ หรือย้อนไปถึงบทคลาสสิค อย่างชายน้อยแห่งบ้านทรายทองโน่น)

แต่ในเรื่องนี้ ผมรู้สึกสะเทือนใจฉากที่... เวียงพิงก์ ที่เป็นคนพิการค่อนข้างรุนแรงกำลังเล่นโยนลูกตะกร้อให้ ค่อม ซึ่งแสดงเป็นสามีเตะใส่หน้าหลายต่อหลายครั้ง จนหน้าบวมปูด

และอีกหลายๆฉากที่ เวียงพิงก์ ถูกนำความพิการมาใช้เป็นมุขตลก แต่ขอยังไม่พูดถึง เพราะยังไม่ได้ดูที่มาที่ไปของฉากเหล่านั้น


ไม่เข้าใจว่า มุขตลกที่ดาราพวกนี้(ซึ่งหลายคนก็เป็นขวัญใจของผมนะ)ใช้ ถึงยังไม่พัฒนาไปกว่าการเอา รูปลักษณ์ภายนอกมาเล่น

ในความรู้สึกผม ก็ไม่ใช่ว่า คนพิการจะแตะต้องไม่ได้นะ เช่นในบ้านทรายทอง หรือบุปผาราตรี ก็ดูสนุกสนานดี คือเขาใช้บทคนพิการตามความเป็นจริง ไม่รังแก หรือเหยียบย่ำซ้ำเติม

และที่ติดใจมากๆ กับหนังเรื่องนี้คือ คำที่ใช้เรียก
เวียงพิงก์ ว่าเป็น "ง่อย" ในหนังตัวอย่าง ได้ยินไม่ชัดนัก มาได้ยินชัดๆ จาก รายการ"สัญญามหาชน" คืนวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ย.ที่ผ่านมานี้เอง

ในรายการ มีดารานำและผู้กำกับมากันครบ ลืมบอกไป เรื่องนี้กำกับโดย
โก๊ะตี๋ อารามบอย และบทภาพยนตร์โดย จตุรงค์ ม๊กจ๊ก ผู้เขียนบทได้นำประเด็นความพิการมาจากประสบการณ์ตรง คือยายของจตุรงค์เอง


จึงถึงบางอ้อว่า เวียงพิงก์ (อ้น ศรีพรรณ)ในเรื่องนี้ พิการจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก หรือที่คนไทยมักจะเรียกว่า"อัมพฤกษ์" แต่ในรายการ ทุกคนจะใช้คำว่า "ง่อย" ทุกครั้งที่พูดถึงอาการ และความพิการของ เวียงพิงก์

เมื่อค้นหาคำว่า "ง่อย" และ "พิการ" จากพจนานุกรมทางอินเตอร์เนต ได้ข้อมูลมาดังนี้

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
กลุ่มอักษร ง: คำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุด 5 อันดับแรก (เรียงตามคะแนน) ง่อย ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ. (คะแนนความใกล้เคียง: 1.009090909090909) กลุ่มอักษร พ: คำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุด 5 อันดับแรก (เรียงตามคะแนน) พิการ ว. เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ ตาพิการ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ พิกล เป็น พิกลพิการ. (ป., ส. วิการ).


จากอีกเวบหนึ่งครับ


Thai-English: NECTEC's Lexitron Dictionary
ง่อย
adj. lame Syn. พิการ,ง่อยเปลี้ยเสียขา Related. crippled ,disabled Def.
อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปกติ Ant. ปกติ Sample:
สมศักดิ์รู้สึกหมดกำลังเหมือนดังคนมือเท้าง่อยตกอยู่ในทุกขเวทนา

คำว่า พิการครับ

English-Thai: NECTEC's Lexitron Dictionary disabled
adj. พิการ Syn. paralyzed ,cripped Related. ทุพพลภาพ,หย่อนความสามารถ
Ant. able-bodied maimed adj. พิการ Syn. injured,damaged Related. เสีย
Thai-English: NECTEC's Lexitron Dictionary พิการ
adj. handicapped Syn. ทุพพลภาพ Related. defective Def.
เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม Ant. ปกติ Sample:
เพื่อนของเขาบางคนอยู่ในโครงการเรียนร่วมระหว่างเด็กพิการกับเด็กปกติ


จากข้อมูลข้างบน คงพอสังเกตได้ว่า สังคมไทยยังมอง คำว่า
"ง่อย" และ "พิการ"ไม่ต่างกันนัก แต่เนื่องจากผมไม่ใช่นักวิชาการ ไม่มีหลักวิชาการในการวิเคราะห์ใดๆ

ต่ผมขอใช้ความรู้สึกจริง ประสบการณ์ตรง...ของคนที่เคยถูกเรียกด้วยคำเหล่านี้มาเล่าสู่กันฟัง ตั้งแต่ผมเริ่มคิดจะเขียนเรื่องนี้(เช้าเมื่อวานนี้) ผมได้สอบถามเพื่อนๆคนพิการ ๕ คน(รวมตัวผมเองด้วย) ทั้งที่พิการแต่กำเนิด และพิการภายหลัง

ทุกคนรู้สึก "แย่"ทุกครั้งที่ได้ยินคำนี้ เกือบทุกคนคนบอกว่า "เกลียด" ไม่อยากได้ยิน บางคนบอกว่า แค่คำว่า "พิการ" ซึ่งเป็นคำกลางๆ กว่าจะทำใจให้รับได้ ก็ยากเต็มที(รวมตัวผมเองด้วย อีกที)

ผมเองก็เคยถูกเรียกด้วยคำนี้ ๒ ครั้ง(จากคนใกล้ตัว) คงจะด้วยความไม่ตั้งใจ แต่แปลกนะ แค่คำๆเดียว ผมกลับรู้สึกเหมือนโดนมีดแทงตรงหัวใจแล้วค่อยกรีดช้าๆ เลย(ไม่ได้พูดเกินความจริงเลย)

จำได้ว่า นอนหมดอาลัยตายอยากอยู่หลายวันกว่าจะหาย พยายามนึกถึงอดีตที่ผ่านมา ว่าเราเคยโดนคำพูดไหนที่เจ็บกว่านี้ไหม แต่จนนาทีนี้ยังนึกไม่ออก

ผมเชื่อว่าใน
รายการ"สัญญามหาชน" คงไม่ได้มีใครตั้งใจให้ใครเจ็บปวดจากคำพูดของดาราเหล่านั้น แต่น่าจะเกิดจากคำพูดติดปากกันมาแต่เด็ก เป็ดง่อย ง่อยเปลี้ยเสียขา ยังเป็นคำที่ใช้กันตามสื่อทั่วไป

เคยได้คุยกับบล็อคเกอร์ท่านหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมัน บอกว่าที่นั่นมีกฏหมายห้ามใช้คำว่า "พิการ" ผมยังไม่ทราบชัดเจนถึงเหตุผล(เนื่องจากเป็นการคุยทางแชท) แต่ว่าจะขอให้ช่วยหาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ครับ

ป.ล.ผมเขียนเรื่องนี้ทั้งที่ข้อมูลและร่างกายยังไม่พร้อมนัก(ขออภัยถ้าสับสนไปบ้าง) แต่อยากเขียนในขณะที่ความรู้สึกของคืนวันอาทิตย์(สัญญามหาชน)นั้นยังอยู่









imagine.mp3 - john lennon

7 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับ พี่ชัย (อะ..แอ๋ม..เป็นทางการหน่อย)

    ผมเป็นผู้ทุพพลภาพ(มืออาชีพ) มา 7 ปี ผมอาจจะโชคดีกว่าหลายๆ คน ที่ยังไม่เคยได้ยินจากหูของตัวเอง แม้แต่ครั้งเดียว แต่ผมเคยได้ยินจากลูกน้องเล่าให้ฟังว่า ลูกน้องผม 3 คน เคยพูด

    ตอบลบ
  2. 2 คนในนั้น เป็นคนที่ผมสนิท ทำงานด้วยกัน อย่างขยันขันแข็ง และดูแล้วไม่น่าจะสามารถพูดคำว่า "ไอ้ง่อย" ออกจากปากได้ ถึงตอนนั้นบริษัทผมจะมีปัญหาก็ตาม ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่เชื่อว่า ทั้ง 2 คนพูด

    จำได้ว่าตอนนั้น พอมีคนมาเล่า ผมก็คิดนะ ไม่ใช่ไม่คิด ขนาดแค่นี้ ผมยังคิดเลย ถึงจะบอกตัวเองว่า ทำใจได้ ใครจะว่าอะไรก็ช่าง แต่ก็พอจะนึกออกว่า ถ้าผู้พิการ บางคน ได้ยินบ่อยๆ โดยเฉพาะ จากปากคนที่สนิท รู้จัก หรือถ้าเป็นคนในครอบครัว หรือ คนที่รัก คงยิ่งรู้สึกแย่มากๆ

    ตอบลบ
  3. ก็ได้แต่หวังว่า คนในสังคมจะเข้าใจว่า คำว่า "ง่อย" นั้น เป็นคำพูดสะเทือนใจ ไม่แพ้คำว่า "หัวล้าน" "ไม่สู้"(หมายถึง แบบว่า นกเขาไม่ขัน ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า เสียเชิง ประมาณนั้น" ไอ้แก่"(หมายถึงสามีพูดถึงภรรยา ที่อายุสูง) เป็นต้น ไม่รู้ว่ายกตวอย่าง พอได้รึเปล่าครับ)

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  5. จริงครับคำว่าพิการ ผมยังไม่อยากจะพุดและไม่อยากได้ยิน มันรับไม่ได้ในความรู้สึกลึกๆ

    ตอบลบ
  6. สวัสดีค่ะ
    ดิฉันชื่ออันธิกาค่ะ
    ได้แวะเวียนเข้ามาอ่านงานเขียนขอคุณอยู่เนืองๆ และบังเอิญว่างานวิจัยที่เขียนตอนนี้เป็นเรื่องตัวแทนทางวัฒนธรรมที่สังคมสร้างให้กับความพิการ จึงขออนุญาตนำความเห็นที่คุณกิตติชัยมีต่อหนังเรื่องนี้ อ้างอิงในงานเขียนด้วย แต่จะขอรบกวนให้คุณกิตติชัยช่วยตรวจทางว่า เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วยังได้ความเหมือนที่คุณกิตติชัยตั้งใจหรือเปล่าค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    mailtoantika@gmail.com

    Although there has been progressive development of physical accessibility for disabled people, the misconception toward themselves still is inherent in the popular culture. Culture representation can be widely seen in Thai society. The comedy movie ‘Head Dropped Family’ in 2008, which was rated as a family entertainment, conveys disability oppression in two ways. Disabled person is firstly represented as a source of hilarious. This movie presented a housewife as wheelchair user with her mouth twisting, distort hand, and naïve characteristic. One act oppressed a disabled audience, who saw this film in his wheelchair, and commented
    “I felt hurt during a scene when Wiengping [the housewife], who looks like having severe impairment, is throwing a rattan ball to Khom [her husband] to kick back to her face dozen times until her face swollen and smiles (Kittichai in kittichai.blogpost.com, 2008)”.




    Figure 4.x shows caption from the ‘Head dropped Family’ comedy film, reproduced the image of person with palsy as hilarious and naïve
    Source: http://kittichaiblog.blogspot.com/2008/11/blog-post.html

    Language misusing of disabled person is another oppressive features, particularly with some viewers with impairment. The conversations in this film mentioned the character with palsy as ‘ngoi’ or lame. In this sense, It can be understood that ngoi and pi-garn(disabled) are still used with little or without difference. Furthermore, it touched feeling of people who experienced trauma from being stigmatised ngoi as Kittichai, a severe-impaired wheelchair user expressed

    “I want to comment through my direct experience as a person who used to be called ‘ngoi’. […] I also asked some disabled friends about this word, all of them said ‘it’s extremely bad word, hate it, even ‘pi-garn’ with its neutral feeling is still hard to accept’. I was called ‘ngoi’ twice, it’s strange, only one word, it was like someone stab a knife at my heart and slowly slits (not exaggerate at all) It’s hurtful, hearing that, lying in bed with desperate for days. Trying to think about which word is most hurtful in my life, until now, none of them, but this one[ngoi] (Kittichai in kittichai.blogpost.com, 2008).”

    ตอบลบ
  7. พี่ชัย!!

    ไม่เป็นไรนะ
    ใครเข้าอยากพูด
    ก็ให้เค้าพูดไปเหอะ
    คนพวกนี้ไม่ต้องไปสนใจ
    อย่างน้อยมีคนเพียงไม่มาก
    ที่เข้าใจเราก็เพียงพอ

    :]

    ตอบลบ