วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

๓๕.365 วันอันตราย หยุดความตายด้วยวินัยจราจร

วันนี้ขอทำตัวเป็นนักข่าวสายตำรวจ(จราจร)สักวันนะครับ


เนื่องจาก...เมื่อ วันที่ ๑๖ กันยายน ที่ผ่านมา มีโอกาสติดตาม นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการ มูลนิธิ "เมาไม่ขับ" ซึ่งได้รับเชิญจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปบรรยายที่ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๒ จ.ชลบุรีครับ

การประชุมแนวทางการปฏิบัติ
โครงการกวดขันวินัยจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุ
ตำรวจภูธรภาค ๒


แผ่นพับนี้เป็นข้อมูลสถิติต่างๆ เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อ่านง่าย
จาก"ศูนย์ิวิชาการเพื่อความปลอดภัยบนถนน"

ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น หัวหน้าสถานี(ผู้กำกับ)ทั้งหมดจาก ตร.ภ.ภาค ๒ กว่า ๒๐๐ คน

มีแต่สีกากีมีดาวทั้งนั้น ช่วงที่เข้าไปในห้องประชุมแรกๆ รู้สึกแปลกๆ ยังไงไม่รู้สิ
ที่ต้องเป็นคนกลุ่มน้อย และมีตำรวจมารวมกันเยอะขนาดนี้

ช่วงที่คุณหมอบรรยาย ก็เรียกไปคุยด้วยด้านหน้าเลย...โห อยู่ข้างๆ ยังตะขิดตะขวงใจเลย

การบรรยายของคุณหมอถึงสถิติจากอุบัติเหตุบนถนน ในประเทศไทย มีหลายข้อมูลน่าสนใจมาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลงานวิจัยของ "ศูนย์ิวิชาการเพื่อความปลอดภัยบนถนน" เช่น ทุกๆ วันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ๕ ราย ทุกๆ ๔ ชั่วโมง เฉลี่ยวันละ ๓๐ คน รวมปีละประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน


ถ้ามี ๑ คน ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุถนน จะมีคนบาดเจ็บประมาณ ๑๐๐ คน ปีละ ๑ ล้านคน และจะมีผู้พิการรายใหม่ ๓-๕ คน รวมประมาณ ๓-๕ หมื่นคน ต่อปี(คุณหมอเปรียบเทียบกับสนามศุภฯ ที่จุคนได้ ๕ หมื่นคน)


ในแต่ละปี จำนวนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนน มากกว่าอาชญากรรม ๔-๕ เท่า ปี ๒๕๕๐ มีผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรม (รวม ๓จังหวัดภาคใต้) ประมาณ๒,๖๐๐ คน แต่จากอุบัติเหตุจราจร ๑๒,๐๐๐ คน

มีการเล่นเกม ตอบคำถามด้วยครับ ผู้ที่ตอบถูก รับรางวัลเป็นเสื้อที่ระลึก พาราลิมปิก
จาก พล.ต.ท. เอก อังสนานนท์ ประธานในพิธี

ท่านที่นั่งคู่กับ พล.ต.ท. เอก อังสนานนท์ คือ ผบ. ตร. จ.สกลนคร รับเชิญเป็นวิทยากร ในฐานะที่เป็นจังหวัดที่ใช้การบังคับใช้กฏหมายจนเห็นผล มีผู้เสียชีวิตลดลงอย่างชัดเจน จนถูกใช้เป็นกรณีตัวอย่าง
ท่าน บรรยายว่า ในช่วงแรกที่กวดขันก็ถูกกดดันจากฝ่ายต่างๆ ที่ไม่ได้รับความสะดวกสบาย โดยเฉพาะนักการเมือง จนต้องขอโทษ ขอโพยกันไป แต่พอได้รับผลที่ดี จึงค่อยได้รับการยอมรับจากชาวบ้านภายหลัง

พล.ต.ท. เอก อังสนานนท์ ประธาน กล่าวให้โอวาท และแสดงถึงความตั้งใจจริงของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะลดยอดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร

โครงการนี้เริ่มแล้วตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา...ตอนนี้อยู่ในช่วงทำความเข้าใจกับระดับผู้กำกับทั่วประเทศ เท่าที่จับใจความการประชุม เชื่อว่าต่อไปนี้ตำรวจน่าจะเน้นไปที่ การบังคับใช้กฏหมาย โดย การตั้งด่านสกัดจับ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว รวมทั้งผู้กระทำผิดกฎจราจรต่างๆ เพื่อลดการสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สิน ของคนไทย


อย่าไปโกรธตำรวจเลยนะครับ ถ้าเกิดความไม่สะดวกกับพวกเราบ้าง ผมฟังดูแล้ว ตำรวจก็ไม่สบายใจนักหรอกครับ ที่ต้องทำงานนี้ นอกจากจะโดนชาวบ้านด่าแล้ว หลังเลิกงานยังต้องมาตั้งด่าน ดึกๆ ดื่นๆ บ้านช่องก็ไม่ได้กลับ


เอาเป็นว่า อยากให้รอดูผลของโครงการนี้ในปีหน้าด้วยกันนะครับ ว่าจะได้ผลเช่นเดียวกับ จ.สกลนคร ที่ได้ผลมาแล้ว...หรือเปล่า

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่เห็นบอกเลยว่าชัยทำอะไรบ้างในงานนี้ อยากรู้ครับ
    จาก แหลม อุบลฯ

    ตอบลบ
  2. เห็นด้วยกับพี่แหลม เสริมอีกนิดกับ ตารางกิจกรรมของพี่ และพี่ชัยครับ ช่วยเปลี่ยนอีเเมล์ที่รับบทความของพี่จาก @hotmail.com เป็น @gmail.com ด้วยะครับ
    ขอบคุณครับ ปรีดา

    ตอบลบ